ประวัติความเป็นมากองทุนพัฒนาไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
1. เหตุผลความจำเป็นกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน
กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ภายใต้การกำกับดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยเป็นกองทุนภายในสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีการเก็บเงินจากค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ โดยให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้า เช่น ผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (โรงไฟฟ้า) ผู้รับใบอนุญาตจำหน่วยไฟฟ้า (การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และผู้ที่ได้รับอนุญาต ในการจำหน่ายไฟฟ้า) เป็นต้น เป็นผู้เรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อนำส่งเข้ากองทุน สำหรับเป็นเงินทุนช่วยเหลือเรื่องต่างๆ คือ
1. นำไปใช้ในการจัดให้มีการบริการไฟฟ้าให้กับประชาชนทั่วประเทศไทยได้มีไฟฟ้าใช้อย่างทั่วถึง และการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสให้ได้มีการใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น นโยบายค่าไฟฟ้าฟรี 50 หน่วย สำหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็ก เป็นต้น
2. นำไปใช้สร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและชุมชนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นผู้เสียสละให้มีโรงไฟฟ้ามาตั้งอยู่ในชุมชนเพื่อให้มีการผลิตไฟฟ้าในประเทศ เพื่อให้คนไทยได้ใช้อย่างมั่นคงและเพียงพอ
3. นำไปใช้ในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย การสร้างความรู้ ความตระหนักในด้านไฟฟ้า เพื่อให้มีการจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่ดี มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในวันข้างหน้าได้เพิ่มขึ้น และประชาชนมีการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด
นอกจากนี้ กองทุนพัฒนาฟ้ายังมีเงินมาจากค่าปรับ ถ้าโรงไฟฟ้าหรือผู้ประกอบการด้านไฟฟ้าทำผิดระเบียบหรือกฎหมาย รวมถึงเงินที่มีผู้บริจาคให้กองทุนหรือเงินอื่นๆ เช่น ดอกเบี้ย อีกทางหนึ่งด้วย
การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อดำเนินการในเรื่องต่างๆ จะมีการกำหนดอัตราการนำส่งเงินเข้ากองทุนและการใช้จ่ายเงินกองทุนที่แยกออกจากกันในแต่ละเรื่องไว้อย่างชัดเจน และเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้านี้ถือเป็นเงินของภาครัฐที่ต้องมีการดูแลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ทั้งจากประชาชน สำนักงาน กกพ. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
2. เงินกองทุนพัฒนาฟ้าที่ใช้ในการพัฒนาชุมชน
เงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่นำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า มาจากเงินค่าไฟฟ้าที่ผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (โรงไฟฟ้ามีมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ 1,000 กิโลโวลต์แอมแปขึ้นไป หรือประมาณ 0.8 เมกะวัตต์ขึ้นไป) ซึ่งจะเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามที่ กกพ. กำหนด คือ
1. เมื่อมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ โรงไฟฟ้าจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า ตามขนาดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้านั้นๆ โดยต้องจ่ายในอัตรา 50,000 บาท ทุกๆ 1 เมกะวัตต์ต่อปี เช่น ถ้าโรงไฟฟ้ามีกำลังการผลิต 10 เมกะวัตต์ ก็จะต้องจ่ายเงินระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าปีละ 500,000 บาท เป็นต้น แต่หากโรงไฟฟ้ามีกำลังการผลิตน้อยกว่า 1 เมกะวัตต์ ก็จะต้องจ่ายในอัตราขั้นต่ำ 50,000 บาทต่อปี ซึ่งเงินในส่วนนี้ โรงไฟฟ้าจะนำไปคิดเป็นต้นทุนในการจัดเก็บกับผู้ใช้ไฟฟ้า เมื่อเริ่มมีการผลิตไฟฟ้าต่อไป
2. ในระหว่างการผลิตไฟฟ้า โรงไฟฟ้าจะต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ตามหน่วยพลังงานไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้านั้นผลิตในแต่ละเดือนเพื่อขายให้ประชาชนและใช้เองในอาคาร โรงงาน หรือสำนักงาน (ไม่รวมถึงหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าใช้ในการสนับสนุนกระบวนการผลิตให้ได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้า) ซึ่งมีหน่วยพลังงานไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยเชื้อเพลิงชนิดใดทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากก็จะเก็บมาก เชื้อเพลิงใดทำให้เกิดผลกระทบน้อยก็จะเก็บน้อย ดังนี้
– เข้ากองทุน 2 สตางค์ต่อหน่วย ถ้าใช้ถ่านหินลิกไนต์ หรือพลังงานน้ำจากเขื่อน ในการผลิตกระแสไฟฟ้า จะเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า 2 สตางค์/หน่วย
– เข้ากองทุน 1.5 สตางค์ต่อหน่วย ถ้าใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลผลิตไฟฟ้า จะเก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า 1.5 สตางค์/หน่วย
– เข้ากองทุน 1 สตางค์ต่อหน่วย ถ้าใช้ก๊าซธรรมชาติ ลม แสงอาทิตย์หรือพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบน้อย เก็บเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า 1 สตางค์/หน่วย
3. ผู้ดูแลกองทุนพัฒนาไฟฟ้า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรียกย่อ ๆ ว่า กกพ. จะเป็นผู้ดูแลและกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โดยกองทุนนี้จะมีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ สำนักงาน กกพ. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการให้กับ กกพ. ในการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โดยใช้งบประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เก็บเข้า
กองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
กองทุนพัฒนาไฟฟ้ามาเป็นค่าบริหารจัดการ และเงิน 5 เปอร์เซ็นต์นี้ยังใช้เพื่ออุดหนุนให้กับกองทุนในพื้นที่ที่มีโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งได้รับเงินน้อยไม่เพียงพอต่อการพัฒนา และเป็นเงินสำรองเพื่อใช้ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าอย่างรวดเร็วหากเกิดกรณีฉุกเฉินอีกด้วย กองทุนพัฒนาไฟฟ้าภายในสำนักงาน กกพ. ซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ กกพ. ได้กระจายอำนาจให้ประชาชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าในรูปของคณะกรรมการ โดยจัดตั้งกองทุนระดับพื้นที่รอบ โรงไฟฟ้าขึ้น ซึ่งกองทุนในพื้นที่อาจมีโรงไฟฟ้าเพียงโรงเดียว หรือหลายโรงไฟฟ้าอยู่รวมกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ มีโรงไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่ตำบลเดียวกันหรือในพื้นที่ใกล้เคียงกันจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด โดยเงินที่เก็บได้จากโรงไฟฟ้าแต่ละพื้นที่ก็จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาชุมชนและพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าผ่านคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากภาคประชาชน ภาครัฐ และผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่นั่นเอง
การบริการเงินกองทุนที่กำหนดพื้นที่ประกาศมีสามประเภท ดังนี้
(1) กองทุนขนาดใหญ่ สำหรับพื้นที่ที่ได้รับเงินจากผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้านำส่งเข้ากองทุน ในระหว่างการผลิตไฟฟ้ามากกว่าห้าสิบล้านบาทต่อปีขึ้นไป
(2) กองทุนขนาดกลาง สำหรับพื้นที่ที่ได้รับเงินจากผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้านำส่งเข้ากองทุน ในระหว่างการผลิตไฟฟ้ามากกกว่าสามล้านบาทแต่ไม่เกินห้าสิบล้านบาทต่อปี
(3) กองทุนขนาดเล็ก สำหรับพื้นที่ที่ได้รับเงินจากผู้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้านำส่งเข้ากองทุน ในระหว่างการผลิตไฟฟ้าไม่เกินสามล้านบาทต่อปี
2. ลักษณะของโครงการ
โครงการชุมชน เป็นโครงการที่ประชาชนที่อยู่ในตำบลของพื้นที่ประกาศกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ได้ร่วมกันคิดและเสนอ และได้จัดทำข้อเสนอโครงการยื่นเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้แต่งตั้งขึ้น เพื่อขอใช้เงินจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ประกาศนั้นๆ โครงการชุมชนที่จะเสนอขอรับเงินจาก กองทุนพัฒนาไฟฟ้าเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ ได้ในหลากหลายด้าน ตามความต้องการของประชาชนและชุมชน โดยจะมีการแบ่งประเภทแผนงานออกเป็น 7 ด้าน ประกอบด้วย
ด้านที่ 1 สาธารณสุข
ด้านที่ 2 การศึกษา
ด้านที่ 3 เศรษฐกิจชุมชน
ด้านที่ 4 สิ่งแวดล้อม
ด้านที่ 5 สาธารณูปโภค
ด้านที่ 6 พลังงานชุมชน
ด้านที่ 7 ด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน
3 ผู้เสนอโครงการ
1. หน่วยงานของรัฐ โดยดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2. นิติบุคคล ซึ่งมาจากการรวมกลุ่มของประชาชนในชุมชนที่มีสภาพทางกฎหมาย เช่น วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม สหกรณ์ ที่ทางราชการจัดตั้งหรือรับรองการจัดตั้ง และได้รับการรับรอง การดำเนินงานอย่างมีธรรมาภิบาล ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยนายทะเบียนหรือหน่วยงานที่กำกับตามกฎหมาย
3. มูลนิธิ โดยมีการจดทะเบียนตามกฎหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งต้องสอดคล้องกับโครงการที่ขอรับจัดสรร